วันอาทิตย์ที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2553

จุดยืนและบทบาทของพุทธศาสนาในประเทศไทย

ความเป็นมา
๑. พุทธศาสนาได้เข้ามายังสุวรรณภูมิกว่าสองพันปีแล้ว โดยพระโสณเถระและพระอุตตรเถระราว พ.ศ.๒๓๖ ซึ่งในระยะแรก ยังคงมี อิทธิพลของ ศาสนาฮินดู และพุทธศาสนานิกายมหายานปะปนกันอยู่ จนกระทั่งนิกายหินยานแบบลังกาวงศ์ได้เข้ามาแทนที่ ในพุทธศตวรรษที่ ๑๖
๒. พุทธศาสนานิกายหินยานในประเทศไทยยึดการปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธ เจ้า โดยเคร่งครัดดังปรากฎในพระไตรปิฎก ซึ่งมีการสังคายนา ให้ถูกต้องมาโดยตลอด และเมื่อพุทธศาสนาในลังกาเสื่อมลง คณะสงฆ์แห่งสยามก็ได้ส่งพระอุบาลีไปตั้งนิกายสยามวงศ์ ขึ้นใหม่ในลังกา พระมหากษัตริย์ ไทยทุกพระองค์ได้เป็นองค์ศาสนูปถัมภกทำนุบำรุงพระพุทธศาสนามาโดยต่อเนื่อง รัชกาลที่ ๔ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ได้สถาปนานิกายธรรมยุติขึ้น ทำให้ ในประเทศไทยมีพุทธศาสนาแบบหินยานหรือเถรวาทสองนิกาย คือมหานิกาย และธรรมยุติ แต่มีหลักปฏิบัติตามพระไตรปิฎกเช่นเดียวกันกับในอดีต
๓. ในยุครัชกาลปัจจุบันในประเทศไทยก็ยังมีพระอริยะบุคคลเกิดขึ้นอยู่เสมอ โดยเฉพาะในสายธรรมยุติที่ปฏิบัติอย่างเคร่งครัด ท่ามกลาง การกระทำที่เป็นการบ่อนทำลายพระพุทธ ศาสนาด้วยวิธีการต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นภัยจากภายนอก หรือภายในประเทศ ทั้งที่เกิดจากพระสงฆ์เอง และฆราวาส รวมทั้งการปฏิบัติที่แตกต่างออกไปจากแนวเดิม เช่น สำนักสันติอโศก และ วัดธรรมกาย เป็นต้น นอกจากนี้ ยังเกิดการเปลี่ยนแปลงในบทบัญญัติ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.๒๕๔๐ ที่สำคัญคือการตัดข้อความที่ว่า ?พุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ? ออกไป ประกอบกับอิทธิพล ของโลกาภิวัตน์ ทำให้ประชาชนไทยรุ่นใหม่ขาดความเข้าใจ ในหลักการของพุทธศาสนาอย่างถ่องแท้ และไม่ได้นำหลักคำสอน หรือธรรมะของ พระพุทธเจ้ามาปฏิบัติในชีวิตประจำวัน ซึ่งอาจจะก่อให้เกิด ความไม่มั่นคงทางสังคมได้ในอนาคต

ปัญหา
พล.ต.จำลอง ศรีเมือง ในฐานะประธานกรรมการศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาพลังแผ่นดินเชิงคุณธรรม (องค์กรอิสระ) ได้รับมอบหมาย ให้จัดงาน วิสาขบูชาปี ๒๕๔๘ ที่พุทธมณฑล และได้สนับสนุนงบประมาณให้จำนวนหนึ่ง และ พล.ต.จำลอง ศรีเมือง ได้ออกคำสั่งแต่งตั้ง คณะกรรมการที่ปรึกษา และคณะกรรมการดำเนินงานโครงการรมณียสถานอุทยานธรรมวิสาขบูชา เมื่อวันที่ ๑๕ มีนาคม พ.ศ.๒๕๔๘ เพื่อจัดงานปฏิบัติบูชาวิสาขมาส ณ พุทธมณฑล ระหว่างวันที่ ๒๒ - ๓๐ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๔๘ ก่อให้เกิดความแคลงใจขึ้นโดยเฉพาะ ในมหาเถรสมาคมซึ่งเคยจัดงานนี้มาเป็นประจำ ตลอดจนประชาชนทั่วไปเกิดความสับสนในบทบาทของสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ในฐานะเป็นสำนักเลขาธิการของมหาเถรสมาคม และไม่เข้าใจ ว่ามีเจตนาซ่อนเร้นอะไรแฝงอยู่ในการนี้หรือไม่

ข้อเท็จจริง
๑. มหาเถรสมาคมเป็นองค์กรปกครองสงฆ์สูงสุดของไทย ตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.๒๕๐๕ แก้ไขเพิ่มเติมโดย พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๕ มหาเถรสมาคม ประกอบด้วย สมเด็จ พระสังฆราช ซึ่งทรงดำรงตำแหน่งประธานกรรมการ โดยตำแหน่ง สมเด็จพระราชาคณะทุกรูป เป็นกรรมการโดยตำแหน่ง และพระราชาคณะ ซึ่งสมเด็จพระสังฆราชทรงแต่งตั้งมีจำนวนไม่เกิน สิบสองรูป เป็นกรรมการโดยมีผู้อำนวยการสำนักงาน พุทธศาสนาแห่งชาติเป็นเลขาธิการมหาเถรสมาคมโดยตำแหน่ง มหาเถรสมาคม มีอำนาจตรากฎมหาเถรสมาคม ออกข้อบังคับ วางระเบียบ ออกคำสั่งมีมติ หรือออกประกาศ โดยไม่ขัดหรือแย้งกับกฎหมายและพระธรรมวินัย ใช้บังคับได้ และจะมอบให้พระภิกษุรูปใด หรือคณะกรรมการ หรือคณะอนุกรรมการ เป็นผู้ใช้อำนาจหน้าที่ตามวรรคหนึ่งได้
๒. มหาเถรสมาคมได้ใช้อำนาจตามความในมาตรา ๒๗ แห่ง พ.ร.บ.คณะสงฆ์ พ.ศ.๒๕๐๕ สั่งให้พระโพธิรักษ์สละสมณเพศเสีย
เมื่อ ๒๓ พฤษภาคม ๒๕๓๒ เพราะประพฤติล่วงละเมิดพระธรรมวินัยเป็นอาจิณ และไม่สังกัดวัดใดวัดหนึ่ง จงใจทำพระวินัยให้วิปริต คลาดเคลื่อนจากคำสอนของพระศาสนา และได้กระทำประกาศนียกรรม ประกาศข้อเท็จจริงให้ประชาชนทั่วไปทราบเมื่อ ๖ มิถุนายน ๒๕๓๒ เพื่อไม่ให้พระภิกษุและสามเณรคบหาสมาคมหรือ ร่วมมือใดๆ แก่พระโพธิรักษ์ หรือตกเป็นเครื่องมือในการบ่อนทำลายพระพุทธศาสนา และความมั่นคงของประเทศชาติสืบไป นอกจากนี้ สมณโพธิรักษ์ เจ้าสำนักสันติอโศก ยังเคยถูกศาลสั่งลงโทษจำคุก ๖ เดือน ให้รอลงอาญา ๒ ปี เพราะไม่ยอมลาสิกขาตามคำสั่งมหาเถรสมาคม และให้จำคุก ๖๖ เดือน แต่ให้รอลงอาญา ด้วยความผิดแต่งกายเครื่องหมายสงฆ์ และประกอบพิธีกรรมบวชให้คนอื่น ๓๓ ครั้ง
๓. พล.ต.จำลอง ศรีเมือง อดีตหัวหน้าพรรคพลังธรรม มีความใกล้ชิดกับสำนักสันติอโศกมาก และมีบทบาททางการเมืองสูง มีบทบาท เป็นนักเคลื่อนไหวทางการเมืองมาโดยตลอด ซึ่งปัจจุบันก็ยังได้ดำรงตำแหน่งเป็นประธานของศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาพลังแผ่นดินเชิงคุณธรรม หรือ Center for the Promotion of National Strength on Moral Ethics and Values ที่มีพิธีเปิดอย่างเป็นทางการเมื่อ วันที่ ๒๙ ธันวาคม ๒๕๔๗ ซึ่งเป็นหน่วยงาน ที่เป็น ๑ ใน ๘ ของ โครงการกระตุกต่อมคิด ในความรับผิดชอบของหน่วยงานใหม่ที่เรียกว่า สำนักงานและบริหาร พัฒนาองค์ความรู้ (สบร.) หรือ OKMD - Office of Knowledge Management and Development ซึ่งมีสถานภาพเป็น องค์การมหาชน เฉพาะในส่วนศูนย์คุณธรรมฯ มีงบประมาณดำเนินการ ๒๒๖ ล้านบาท นอกจากนี้ศูนย์คุณธรรมฯ ยังมีคุณนราทิพย์ พึ่งทรัพย์ แห่งเครือข่าย สำนักสันติอโศก เข้ามาเป็นผู้อำนวยการอีกด้วย
๔. ภารกิจของศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาพลังแผ่นดินเชิงคุณธรรม โดยหลักแล้วไม่ใช่เพื่อ ดำเนินการเคลื่อนไหวเอง หากแต่เพื่อทำหน้าที่ เป็นองค์กร ประสานงาน สนับสนุนส่งเสริมให้เกิดการเคลื่อนไหวเพื่อคุณธรรม องค์กรที่เข้าร่วมจึงมีทั้งองค์กรทั่วไป และ องค์กรทางศาสนา ของ ทุกศาสนา ทุกสำนัก กิจกรรมครั้งแรก ๆ ที่ดำเนินการไปแล้วก็คือการจัดประชุมเพื่อหาทางยับยั้ง วิกฤต ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ ตามมาด้วยการให้ความช่วยเหลือประชาชน ที่ประสบภัยสึนามิ ศูนย์คุณธรรมฯ จึงสามารถจะเป็นสถานที่ประสานงาน ประสานความคิด อย่างดีระหว่าง พล.ต.จำลอง ศรีเมือง กับศาสนิกของศาสนาต่าง ๆ พุทธทุกสำนัก คริสต์ อิสลาม ฮินดู และ ซิกส์ แม้ว่าในการเคลื่อนไหว คัดค้านการเข้าตลาดหลักทรัพย์ของเบียร์ช้างที่ผ่านมาจะไม่ได้กระทำในนามประธาน ศูนย์คุณธรรมฯ แต่ท่านดำเนินการในนามประธาน มูลนิธิกองทัพธรรม องค์กรในเครือข่าย สำนักสันติอโศก
๕. สำนักพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.) ซึ่งมีที่ตั้งอยู่ที่พุทธมณฑลนั้น เป็นผลเนื่องมาจากการเรียกร้องของชาวพุทธที่ต้องการ ให้ตั้งกระทรวง พระพุทธศาสนาขึ้น ในโอกาสปฏิรูประบบราชการในรัฐบาลที่ผ่านมา แต่รัฐบาลไม่เห็นด้วย จึงมีฐานะเป็นเพียงหน่วยงาน พิเศษขึ้นกับสำนักนายกรัฐมนตรี มีหน้าที่ต้องพิทักษ์คุ้มครองพุทธศาสนาในโลกไม่ว่าจะเป็นมหายาน หรือเถรวาท เพื่อให้เป็นเอกภาพ และยังมีฐานะเป็นสำนักเลขาธิการของของมหา เถรสมาคมอีกด้วย โดยมีผู้อำนวยการสำนักงานพุทธศาสนาแห่งชาติเป็นผู้สนองงาน และเป็นเลขาธิการ มหาเถรสมาคมด้วย ปัจจุบัน คือ นายแพทย์จักรธรรม ธรรมศักดิ์ ซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากรัฐบาล โดยมิได้รับความเห็นชอบ จากมหาเถรสมาคมแต่อย่างใด
๖. อดีตผู้อำนวยการสำนักงานพุทธศาสนาแห่งชาติ พล.ต.ท.อุดม เจริญ ได้พยายามผลักดันให้ พ.ร.บ.บริหารกิจการเกี่ยวกับพุทธศาสนา แห่งชาติออกมา แต่ยังไม่สำเร็จเพราะต้องมีฐานทางการเมืองสนับสนุน การบิดเบือนพระธรรมวินัยของพุทธศาสนา อาจจะไม่ร้ายแรงเท่ากับภัย ที่เกิดจากการขาดเจตนารมณ์ในการปกป้องพุทธศาสนา เช่นดังกรณีการแบ่งงานระหว่างสำนักงานพุทธศาสนาแห่งชาติและกรมการศาสนา โดยมอบหมายให้สำนักงานพุทธศาสนาแห่งชาติดำเนินการเกี่ยวกับ ศาสนบุคคล และศาสนวัตถุ ส่วนกรมการศาสนารับผิดชอบ ด้านศาสนธรรมและศาสนพิธี แสดงว่าไม่มีความเข้าใจในการบริหารงานทางศาสนาโดยคิดว่า แบ่งงานกันแล้วจะสามารถทำงานได้ ทั้ง ๆ ที่คณะสงฆ์มีมหาเถรสมาคมเป็นองค์กรสูงสุดในการปกครอง สมณศักดิ์มีไว้เพื่อประโยชน์ทางการปกครอง แต่การดำเนินการจริงไม่มี ประสิทธิภาพ คณะสงฆ์หรือสำนักงานพุทธศาสนาแห่งชาติไม่ได้ดำเนินการ หรือไม่มีกิจกรรมที่จะดำเนินการ มหาเถรสมาคม ได้มีมติ ไม่เห็นด้วยที่แบ่งแยกงานเช่นนี้ นอกจากนี้ยังมีความพยายามที่จะให้สำนักพุทธศาสนาแห่งชาติไปขึ้นกับกระทรวงวัฒนธรรม ปัจจุบัน
ฯพณฯ รองนายกรัฐมนตรี นายจาตุรนต์ ฉายแสง รับผิดชอบงานของสำนักพุทธศาสนาด้วย
๗. ในคำสั่งมหาเถรสมาคม พ.ศ.๒๕๓๘ เรื่อง ห้ามพระภิกษุสามเณรเกี่ยวข้องกับการเมือง โดยระบุว่าห้ามพระภิกษุสามเณรร่วมชุมนุม ในการเรียกร้องสิทธิของบุคคลหรือคณะบุคคลใดๆ และหากมีการฝ่าฝืนปฏิบัติ พระสังฆาธิการตั้งแต่ชั้นเจ้าอาวาสขึ้นไป ผู้มีอำนาจหน้าที่ ในทางปกครอง จะต้องชี้แจงแนะนำผู้อยู่ในปกครองของตนให้ทราบคำสั่งมหาเถรสมาคมนี้ รวมทั้งกวดขันอย่าให้ฝ่าฝืนละเมิด และหากพระภิกษุรูปใดฝ่าฝืนคำสั่ง ก็สามารถดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ของตนได้ทันที
๘. บทบาทของพระสงฆ์ในทางการเมือง รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.๒๕๔๐ กำหนดไว้ดังนี้ คือ
๘.๑ มาตรา ๓๘ บุคคลย่อมมีเสรีภาพบริบูรณ์ในการนับถือศาสนา นิกายของศาสนา หรือลัทธินิยมในทางศาสนาและ ย่อมมีเสรีภาพในการปฏิบัติ ตามศาสนบัญญัติ หรือปฏิบัติพิธีกรรมตามความเชื่อถือของตน เมื่อไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อหน้าที่ของพลเมือง และไม่เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อย หรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ในการใช้เสรีภาพดังกล่าวตามวรรคหนึ่ง บุคคลย่อมได้รับ ความคุ้มครองมิให้รัฐกระทำการใดๆ อันเป็นการรอนสิทธิ หรือเสียประโยชน์อันควรมีควรได้ เพราะเหตุที่ถือศาสนา นิกายของศาสนา ลัทธินิยมในทางศาสนา หรือปฏิบัติตามศาสนบัญญัติ หรือปฏิบัติพิธีกรรม ตามความเชื่อถือแตกต่างจากบุคคลอื่น
๘.๒ มาตรา ๑๐๖ บุคคลผู้มีลักษณะดังต่อไปนี้ในวันเลือกตั้ง เป็นบุคคลต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิเลือกตั้ง คือ
(๑) วิกลจริต หรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ
(๒) เป็นภิกษุ สามเณร นักพรต หรือนักบวช
(๓) ต้องคุมขังอยู่โดยหมายของศาล หรือโดยคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย
(๔) อยู่ในระหว่างถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง
๙. หน้าที่ของรัฐด้านศาสนาในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.๒๕๔๐ มาตรา ๗๓ รัฐต้องให้ความอุปถัมภ์ และคุ้มครอง พระพุทธศาสนา และศาสนาอื่น ส่งเสริมความเข้าใจอันดี และความสมานฉันท์ระหว่างศาสนิกชนของทุกศาสนา รวมทั้งสนับสนุนการนำ หลักธรรมของศาสนามาใช้ เสริมสร้างคุณธรรม และพัฒนาคุณภาพชีวิต
๑๐. หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการแต่งตั้งผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนสมเด็จพระสังฆราช ดังระบุใน พ.ร.บ.คณะสงฆ์ พ.ศ.๒๕๐๕ และฉบับแก้ไข เพิ่มเติม พ.ศ.๒๕๓๕ มีรายละเอียดสรุปโดยย่อได้ดังนี้
๑๐.๑ พระมหากษัตริย์ทรงสถาปนาสมเด็จพระสังฆราชองค์หนึ่ง
๑๐.๒ เมื่อสมเด็จพระสังฆราชไม่อาจทรงปฏิบัติหน้าที่ได้ และมิได้ทรงแต่งตั้งผู้ปฏิบัติหน้าที่แทน ให้สมเด็จพระราชาคณะ ผู้มีอาวุโส สูงสุดโดยสมณศักดิ์ เป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จสังฆราช
๑๑. ในวันที่ ๒๐ เมษายน ศกนี้ กลุ่มแกนนำชาวพุทธประมาณ ๒๐ คนนำโดย ผศ.เสถียร วิพรมหา อาจารย์ประจำคณะสังคมศาสตร์ มหามกุฏราชวิทยาลัย และประธานพุทธบริษัท ได้เข้ายื่นหนังสือเรียกร้องให้รัฐบาลเปลี่ยนตัว ผอ.พศ. ต่อนายจาตุรนต์ ฉายแสง รองนายกรัฐมนตรี ที่กำกับดูแล พศ. และยื่นหนังสือต่อมหาเถรสมาคม (มส.) เพื่อแสดงจุดยืนของกลุ่มชาวพุทธที่มีต่อการปฏิบัติหน้าที่ ของนพ.จักรธรรม โดยมีสาระสำคัญ ๓ ประเด็นคือ
๑๑.๑ นพ.จักรธรรมนอกจากไม่มีผลงานที่เป็นรูปธรรมแล้ว ยังไม่ได้สืบต่องานของ ผอ.พศ. คนเก่า แต่กลับสร้างปัญหา ต่อวงการพุทธศาสนา โดยเฉพาะกรณีการถวายฎีกาของหลวงตามหาบัว ที่อ้างว่า มส.ไม่มีอำนาจที่จะไปห้ามไม่ให้ยื่นฎีกาได้
๑๑.๒ ผลการสำรวจความเห็นของกรรมการ มส. และพระสงฆ์ชั้นผู้ใหญ่ เป็นห่วงการทำหน้าที่ของ ผอ.พศ.ในการบริหารงานต่างๆ ที่อาจไม่โปร่งใส เช่น กรณีแผนการใช้จ่ายด้าน ไอทีที่สำนักงานพุทธศาสนาแห่งชาติได้รับงบประมาณจากรัฐบาลในปี ๒๕๔๘ จำนวน ๑๒๐ ล้านบาท โดยไม่มีการรายงานความคืบหน้า รวมถึงเรื่องการช่วยเหลือผู้ประสบภัยคลื่นยักษ์สึนามิ และการช่วยเหลือพระสงฆ์ใน ๓ จังหวัด ชายแดนภาคใต้
๑๑.๓ กรณี พศ.ให้สันติอโศกเข้ามาร่วมเป็นคณะทำงานจัดงานวันวิสาขบูชาโลกที่พุทธมณฑล โดยไม่ได้แจ้งให้ที่ประชุม มส. ทราบ ทั้งๆ ที่ ผอ.พศ.ไปร่วมประชุมกับฝ่ายจัดงานถึง ๓ ครั้ง ข้อสรุปส่วนใหญ่ตรงกันคือ การทำงานของ ผอ.พศ. คนปัจจุบันไม่สามารถ ประสานความเข้าใจที่ถูกต้องของหลักการดำเนินการของ มส. กับ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีได้ จากการสำรวจความคิดเห็นชาวพุทธกว่า ๓๐๐ คน ที่มาร่วมประชุมกันครั้งล่าสุด ๙๗% ต้องการเปลี่ยนตัว ผอ.พศ. และให้รัฐบาลตราพระราชกฤษฎีกาสรรหา ผอ.พศ.เพื่อให้ได้บุคคลที่เข้าใจ และเข้าถึงแก่นพระพุทธศาสนาใน
ประเทศไทย
๑๒. การประชุม มส.เมื่อ ๒๐ เม.ย.๔๘ ที่ประชุมมีมติให้จัดงานวิสาขบูชาแบบเดิมเช่นที่เคยจัด

ข้อพิจารณา
๑. ในอดีตพุทธศาสนาเคยมีภัยจากศาสนาอื่น ทำให้เกือบสูญไปจากอินเดียซึ่งเป็นแหล่งกำเนิด รวมถึงในดินแดนอื่นๆ อีกด้วย สาเหตุจากการรุกราน ของกองทัพมุสลิม ที่ฆ่าฟัน และเผาศาสนสถานสำคัญๆ เช่น มหาวิทยาลัยสงฆ์นาลันทา หรือการระเบิดทำลาย พระพุทธรูปแกะสลักบนหน้าผา ที่เมืองบามิยันในประเทศ อัฟกานิสถานโดยนักรบทาลีบันเป็นต้น และการกล่าวอ้างว่าพระพุทธเจ้า เป็นเพียง ภาคหนึ่งของพระนารายณ์อวตารลงมาเท่านั้น หรือเป็นเพียงผู้ประกาศของพระเยซูที่จะลงจากสวรรค์มาช่วยมนุษย์ในอนาคต ระยะเวลาที่ พุทธศาสนาตกต่ำนั้นมักเป็นช่วงที่ผู้ปกครองประเทศนับถือ ศาสนาอื่น และมีความเจริญรุ่งเรืองเมื่อได้กษัตริย์ที่ศรัทธา และนับถือพุทธศาสนา ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชซึ่งมีพระบรมราชานุญาต ให้บาทหลวงของศาสนาคริสต์เข้ามาเผยแพร่ ศาสนาในราชอาณาจักรได้ แต่พระองค์ยังทรงเป็นองค์อัครศาสนูปถัมภกไม่ยอมเปลี่ยนไปนับถือคริสต์ ตามคำชวน ทำให้ฝรั่งเศสไม่ใช้ กำลังกับอยุธยาเหมือนเวียดนาม แต่ความใจกว้างของคณะสงฆ์และคนไทย และการละเลยการปฏิบัติธรรมในชีวิตประจำวัน และการขาดการเรียนรู้พระธรรมคำสอน ของพระพุทธเจ้า ส่งผลให้ความอ่อนแอของสังคมต่ออิทธิพลของโลกาภิวัตน์
๒. ปัจจัยต่างๆ ที่ทำให้พุทธศาสนาในประเทศไทยอ่อนแอลง เกิดจากความอ่อนแอของพุทธบริษัทสี่ ซึ่งได้แก่ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก และอุบาสิกา ในสมัยพุทธกาล พระพุทธเจ้าผู้ตรัสรู้หลุดพ้นการเวียนว่ายตายเกิดแล้วยังไม่เสด็จปรินิพพานตามคำขอของพญามาร ก็เพราะ พระองค์ยังไม่มั่นใจ ว่าพุทธบริษัท ๔ จะเรียนรู้ และปฏิบัติตามคำสอนของพระองค์ได้อย่างเข้มแข็งแล้ว ตลอดจนสามารถแก้ข้อกล่าวหา ของศาสนาอื่นๆ ได้ถูกต้องด้วย ต่อเมื่อพระองค์ทรงมั่นพระทัยแล้วจึงได้ปลงอายุสังขาร ณ ปวาลเจดีย์ เมืองเวสาฬี ว่าจะเสด็จปรินิพพาน
ในอีก ๓ เดือนข้างหน้า กระทั่งวันที่พระองค์ จะเสด็จปรินิพพาน พระองค์ยังทรงเตือนสงฆ์ว่าอย่าอยู่ในความประมาท แต่ในปัจจุบัน ปรากฎข่าวพระภิกษุกระทำผิดพระวินัย อยู่เป็นประจำ ในหน้าหนังสือพิมพ์ ก่อให้เกิดการเสื่อมศรัทธาของฆราวาสทั่วไป เพราะว่า
๒.๑ พระสงฆ์ไทยไม่ขุดสนามเพลาะ(เคร่งครัดในพระธรรมวินัย) ไว้เตรียมต่อสู้ศัตรูจากภายนอก (ศาสนาอื่นๆ) และศัตรูจากภายใน (กิเลสตัณหา) ในขณะที่พระที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบมักไม่ค่อยมีข่าวเสนอจากสื่อ ส่งผลให้ประชาชนทั่วไปหันไปหา ทางเลือกใหม่ ที่มีภาพลักษณ์ดี เช่น เคร่งในการรักษาศีล(สำนักสันติอโศก) หรือเคร่งการปฏิบัติสมาธิ (วัดพระธรรมกาย) เป็นต้น โดยไม่รู้จริง ตามคำสอนที่ถูกต้องของพระพุทธเจ้าดังปรากฎ ในพระไตรปิฎก
๒.๒ พระสงฆ์ไม่รบด้วยปัญญา (ด้วยการศึกษาทางปริยัติ ปฏิบัติ และปฏิเวธ) ให้สามารถตอบโต้ธรรมะกับผู้ที่นับถือศาสนาอื่นได้ ไม่เข้าถึงแก่นของพุทธศาสนา แต่ไปปฏิบัติที่มีแต่ศาสนพิธี หรือการปฏิบัติที่ไม่ใช่พระพุทธเจ้าสอน แม้แต่สตรีก็สามารถปฏิบัติธรรม ได้จนบรรลุขั้น โสดาบันโดยไม่ต้องบวชเป็นภิกษุณี ซึ่งขาดหายไปจากประเทศไทยนานแล้ว ตามพระวินัยแล้วไม่สามารถบวชภิกษุณีได้อีก มิใช่ข้อจำกัดทาง สิทธิมนุษยชนแต่อย่างใด หากจะปฏิบัติด้วยปัญญาแล้วก็คงไม่ต้องดิ้นรนออกบวชตามกระแสสิทธิเท่าเทียมกับชาย แต่อย่างใด
๒.๓ การเผยแพร่พระพุทธศาสนาของสงฆ์ไทย นอกจากจะไม่ค่อยเข้าถึงดินแดนชายขอบประเทศที่เป็นชนเผ่ากลุ่มน้อย ขณะที่ศาสนาอื่นๆ กำลังรุกคืบเข้าเผยแพร่ศาสนาของเขาด้วยวิธีการต่างๆ แล้ว สงฆ์ไทยยังไม่สามารถจะรักษาพื้นที่เดิมที่นับถือพุทธศาสนา อยู่แล้ว และรักษาให้มั่นคง สืบต่อไปได้อีก
๒.๔ สงฆ์ไทยหันไปเสพสุขมากกว่าการเป็นผู้นำทางศาสนาและชุมชนเหมือนในอดีต เช่น ติดยึดในสิ่งอำนวยความสะดวก เหมือนฆราวาส ขาดการสำรวม หรือสันโดษ หันไปสร้างถาวรวัตถุมากกว่าการสร้างภูมิคุ้มกันทางจิตใจ หวังโลกธรรมอันได้แก่ ยศ สรรเสริญ สุข และลาภสักการะทั้งหลาย
๓. ความเข้มแข็งของพุทธบริษัท ๔ นั้นต้องได้รับภูมิคุ้มกัน ปกป้อง และส่งเสริมจากอำนาจรัฐ ดังสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช ประมาณ พ.ศ.๒๐๐ พุทธศาสนารุ่งเรืองมาก และเผยแพร่ออกจากเมืองปาตาลีบุตรไป ๑๐ ทิศทาง และมาถึงแดนสุวรรณภูมิโดยพระโสณเถระ และพระอุตตรเถระ แต่ผู้มีอำนาจของไทยในปัจจุบันถือได้ว่ามีความรู้ทางพุทธศาสนาน้อยมาก แต่อาจจะมีเจตนาที่ดี ดังผลงานที่ผ่านมา เช่น
๓.๑ คณะผู้ร่างรัฐธรรมนูญตามกระแสสิทธิมนุษยชน ได้ตัดข้อความ ?พุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ? ออกไปด้วยเกรง กระทบกระเทือน ศาสนิกชนอื่นๆ โดยไม่ได้คำนึงถึงความมั่นคงทางศาสนาที่รัฐต้องคุ้มครอง และส่งเสริมตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๗๓ แม้แต่ รัฐธรรมนูญของมาเลเซีย มาตรา ๓ ยังระบุไว้ว่า มาเลเซียเป็นรัฐอิสลาม มีศาสนาอิสลามเป็นศาสนาประจำสหพันธรัฐ การหารือ หรือปฏิบัติ ศาสนกิจกระทำได้ แต่ต้องอยู่ในความสงบ
๓.๒ พระอิสระมุนีเคยถูกขับออกจากสำนักหลวงปู่ชา สุภทฺโท อ.วารินชำราบ เพราะไม่ปฏิบัติตามครูบาอาจารย์ และต่อมามีเรื่อง มัวหมอง เรื่องสีกาและหลบหนีไปไม่ยอมสึกจากสมณเพศ
๓.๓ นักการเมืองกลุ่มหนึ่งได้นำที่ธรณีสงฆ์มาจัดสรรทำหมู่บ้าน และสนามกอล์ฟไพน์เฮิร์ทด้วยวิธีการอันซับซ้อน ทั้งๆ ที่การเวนคืนที่ธรณีสงฆ์จะต้องมีการทำผาติกรรมใช้คืนแก่วัดเพื่อไม่ให้เป็นบาป และกรณีนี้ไม่มีอายุความสามารถนำมาพิจารณาอีก ได้เสมอ แต่ในร่าง พ.ร.บ.เขตเศรษฐกิจพิเศษ พ.ศ..............ที่สามารถประกาศเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษได้ง่ายโดยพระราชกฤษฎีกา และมีอำนาจยกเว้นอำนาจของกฎหมาย อื่น ๆ ได้กว้างขวาง ซึ่งมีความเกี่ยวพันกับการใช้ที่ดินของคณะสงฆ์ได้นานถึง ๙๙ ปี ชาวพุทธมีความรู้สึกไม่ค่อยไว้วางใจในร่าง พ.ร.บ. ฉบับนี้ด้วยเกรงว่า จะใช้อำนาจของคณะผู้บริหารเขตเศรษฐกิจจำนวนน้อย มายึดที่ดินธรณีสงฆ์ไป
๓.๔ การแต่งตั้งผู้อำนวยการสำนักงานพุทธศาสนาแห่งชาติคนปัจจุบัน คือ นายแพทย์จักรธรรม ธรรมศักดิ์ โดยไม่ได้รับ ความเห็นชอบ จากมหาเถรสมาคม และไม่มีความเหมาะสมต่อหน้าที่เลขาธิการมหาเถรสมาคม ซึ่งต้องเป็นผู้รับผิดชอบการปฏิบัติต่างๆ แทนมหาเถรสมาคม ปัจจุบันชาวพุทธส่วนใหญ่ต้องการให้เปลี่ยนตัวผู้อำนวยการสำนักงานพุทธศาสนาแห่งชาติ เพราะทำให้องค์กร ขาดประสิทธิภาพ
๓.๕ การจัดการทำบุญก่อนวันสงกรานต์อย่างสมานฉันท์ร่วมกันทุกศาสนา โดยปกติพิธีการในอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดารามนั้น ทุกปีจะมีพระสงฆ์หลายรูปเกือบเต็มพระอุโบสถ แต่การจัดสถานที่ในปีนี้ มีพระสงฆ์เพียงไม่กี่รูป นอกนั้น กลับเป็นคณะรัฐมนตรีและคู่สมรสเป็นส่วนใหญ่ ส่วนพระชั้นผู้ใหญ่ระดับกรรมการเถรสมาคมที่สวด ให้เป็นมงคลกลับต้องนั่งอยู่ภายนอก ระเบียงพระอุโบสถซึ่งอยู่ต่ำกว่าในพระอุโบสถเกือบ ๒ เมตร นับว่าไม่ได้ให้เกียรติแก่พระสงฆ์ และไม่ยกย่องศาสนา แต่ต้องการเพียง จัดฉากให้ภาพสวย โดยเอาศาสนาบังหน้าเท่านั้น นอกจากนี้พิธีที่สวนอัมพร ผู้จัดพิธีการ กลับให้ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีซึ่งเป็นประธาน ในพิธียืนอยู่กับที่ และให้ผู้นำทางศาสนาต่างๆ รวมทั้งสมเด็จผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จสังฆราช เดินไปมอบวัตถุที่เป็นมงคลแก่ประธานฯ และรับของที่ระลึกจากประธานฯ ซึ่งผิดธรรมเนียมที่ควรปฏิบัติ แม้แต่พระมหากษัตริย์ยังทรงเสด็จพระราชดำเนิน ไปถวายของแด่พระที่มี สมณศักดิ์ชั้นสมเด็จขึ้นไป
๓.๖ การมอบหมายให้ พล.ต.จำลอง ศรีเมือง ซึ่งเป็นศิษย์เอกของสำนักสันติอโศกให้เป็นประธานในการจัดงานวิสาขบูชา ที่พุทธมณฑลนั้น แสดงว่าองค์กรอิสระมีความสามารถ หรือเหมาะสมมากกว่าสำนักงานพุทธศาสนาแห่งชาติ หรือมหาเถรสมาคม ในการจัดงานที่เคยทำทุกปี แต่เป็นการไม่เหมาะสมที่องค์กรที่รับผิดชอบหลักไม่ได้รับการประสาน หรือขอรับความเห็นชอบก่อนที่จะออก คำสั่งให้เป็นคณะกรรมการที่ปรึกษา และกรรมการดำเนินงาน ทั้งที่พุทธมณฑลอยู่ในความรับผิดชอบของมหาเถรสมาคม และสำนัก พุทธศาสนาแห่งชาติ ถ้ามองในแง่ร้ายอาจจะมอง ได้ว่าส่งเสริมสนับสนุนให้สำนักสันติอโศกที่ไม่ได้อยู่ในคณะสงฆ์ไทย มายึดพุทธมณฑล เพื่อจัดกิจกรรมในระยะยาว ทางทหารเรียกว่าถูกตีที่จุดศูนย์ดุล (Center of Gravity) ที่ทำให้พ่ายแพ้สงครามได้ ทั้งนี้มีคณะกรรมการ หลายท่านที่สังกัดสำนักสันติอโศก
๓.๗ การที่อ้างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๓๘ ที่ให้สิทธิเสรีภาพในการนับถือศาสนาไม่ว่าจะเป็นนิกายใดนั้น ความจริง ก็ไม่มีใครไปห้ามการปฏิบัติตามคำสอนของศาสนาหรือนิกายใดๆ แต่ควรอยู่ในบริเวณของตน และการร่วมงานของกลุ่ม พุทธศาสนิกชนนิกายต่างๆ ก็เคยร่วมจัดงานที่สนามหลวงมาแล้ว เพราะเป็นสถานที่จัดงานรวมที่มหาเถรสมาคมเป็นเจ้าภาพดำเนินการ แต่การใช้พุทธมณฑลโดยไม่บอกกล่าว มส.ก่อน ถือว่าไม่ถูกต้อง แม้ว่าจะเป็นสมบัติส่วนรวมก็ตาม การอ้างมาตรา ๓๘ ขึ้นมาก็เพื่อ เปิดทางให้สำนักสันติอโศกได้เข้ามาใช้พื้นที่พุทธมณฑล ในการทำกิจกรรม และยึดพุทธมณฑลในที่สุด ปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นแผน ทำลายพุทธศาสนาในระยะยาว ทำให้เกิดการแบ่งแยกออกเป็นนิกายต่างๆ ลัทธิที่มีอยู่จะแยกตัวเป็นอิสระทั้งหมด วิธีแก้ปัญหาคือต้อง ทำความเข้าใจกับผู้เกี่ยวข้อง เพราะสิ่งที่เกิดขึ้นขณะนี้ถือเป็นการแข็งข้อกับ มส. ถ้าปล่อยไว้เช่นนี้ ต่อไป มส.มีมติอะไรจะไม่มีผู้ใดปฏิบัติตามเป็นลูกระเบิดที่ใหญ่มาก ในอดีตเมื่อมีความขัดแย้งในเรื่องพระธรรมวินัย พระเจ้าแผ่นดิน จะรีบดำเนินการให้ภิกษุผู้บรรลุอรหันต์ทำสังคายนาให้ได้ข้อยุติว่าคำสอนหรือวินัยที่ถูกต้องเป็นอย่างไร และให้จารึกไว้ รวมทั้งจัดการลงโทษ หรือให้ภิกษุที่ไม่ได้มาตรฐานสึกพ้นความเป็นสงฆ์ไป ประเด็นนี้ผู้มีอำนาจรัฐควรนำไปปฏิบัติ โดยยึดถือภาระหน้าที่ตามมาตรา ๗๓ ในรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทยด้วย
๔. พฤติกรรมของ พล.ต.จำลอง ศรีเมือง ในการนำภิกษุสงฆ์จากสำนักต่างๆ ประมาณ ๕,๐๐๐ รูป ไปเดินขบวนต่อต้านการพิจารณา ของ กลต. ในการนำหุ้นของเบียร์ตราช้างเข้าตลาดหลักทรัพย์นั้น แม้จะได้รับความร่วมมือจากองค์กรแนวร่วมอื่นๆ จำนวนมาก แต่ก็เป็นการผิดพระวินัยของสงฆ์ และคำสั่งของมหาเถรสมาคม พ.ศ.๒๕๓๘ เรื่อง ห้ามพระภิกษุสามเณรเกี่ยวข้องกับการเมือง ซึ่งระบุว่า ห้ามพระภิกษุสามเณรร่วมชุมนุมในการเรียกร้อง สิทธิของบุคคลหรือคณะบุคคลใดๆ ทั้งนี้บริษัทเบียร์ช้างไม่ได้ทำผิดกฎหมาย ของบ้านเมือง ไม่ใช่หน้าที่ของสงฆ์ที่จะเข้าไปแทรงแซงกิจการของบริษัท เพราะถ้าทำให้บริษัทเสียทรัพย์สินหรือโอกาสที่จะได้ทรัพย์สิน ไปแม้แต่ ๑ บาทเท่านั้น ก็เพียงพอที่จะทำให้ผิดพระวินัยถึงขั้นปราชิกได้ แสดงว่า พล.ต.จำลอง ไม่เคร่งครัดพระธรรมวินัยจริงตามที่ สำนักสันติอโศกอ้าง นอกจากจะเป็นการอวดอ้างพระธรรมวินัยที่เรียกว่า สีลลัพพตปรามาส แล้ว การเคลื่อนไหวครั้งนี้ก็เป็นเพียงหมาก ทางการเมืองเพื่อสร้างภาพลักษณ์ของ พล.ต.จำลองเองว่าดูเหมาะสมในการเป็นผู้นำในการรณรงค์ด้านคุณธรรม ของชาติ หรืออาจ แอบแฝงตัดกำลังไม่ให้กลุ่มเบียร์ช้าง ซึ่งเป็นกลางทางการเมืองในขณะนี้ สามารถสร้างฐานเศรษฐกิจที่เข้มแข็งจนมาเป็นคู่แข่ง ของพรรคไทยรักไทยในอนาคตได้นั่นเอง
๕. ในขณะที่ศาสนาพุทธมีความอ่อนแอในขณะนี้ ศาสนาอิสลามในประเทศไทยก็ได้ใช้สถานการณ์ทางการเมืองออก พ.ร.บ.บริหารองค์การ ศาสนาอิสลาม พ.ศ.๒๕๔๐ เพื่อให้เกื้อกูลต่อการขยายศาสนาอิสลาม และมีการอพยพชาวมุสลิม ไปอาศัยอยู่ในทุกจังหวัดของประเทศไทย และหาเสียง กับชาวบ้านด้วยการนำเลือด และเครื่องในสัตว์ที่พวกมุสลิมฆ่าขายไปให้ฟรี โดยเฉพาะภาคอิสานเนื่องจากมุสลิมไม่กินสิ่งเหล่านี้ เพราะโองการของอัลเลาะห์ สั่งว่า บุคคลใดที่กินเลือดและเครื่องในสัตว์ จะต้องตกนรก ส่งผลให้มุสลิมได้รับเสียงเลือกตั้งจากชาวอิสานให้เป็นผู้แทนราษฎร หรือนักการเมืองท้องถิ่น จำนวนหลายคน และถ้าพวกเขาสามารถสร้างมัสยิดในแต่ละจังหวัดได้ ๓ หลังแล้ว จังหวัดนั้นจะต้องมีคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดตามกฎหมาย ดังกล่าว โดยส่งผลกระทบให้การตกลงใจของผู้ว่าราชการจังหวัดนั้นจะต้องหารือ คณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดก่อนในเรื่อง ที่เกี่ยวข้อง กับชุมชนมุสลิมในจังหวัด เช่น รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครท่านหนึ่ง ซึ่งเป็นอธิการบดีมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญซึ่งเป็นมุสลิม ได้เปลี่ยนโรงเรียนวัดใน กทม. จาก ร.ร.วิถีพุทธ เป็น ร.ร.วิถีธรรม ซึ่งดำเนินการไปแล้ว ๒ วัด คือ วัดราชคฤห์ และวัดคฤหบดี และที่น่าเป็นห่วงคือที่วัดมหาธาตุกำลังต่อสู้กันในศาล เพื่อจะนำไปทำที่ละหมาด แต่นักการเมืองชาวพุทธที่มีอยู่เป็นจำนวนมาก หาได้เร่งออกกฎหมายเช่นเดียวกันเพื่อส่งเสริมพระพุทธศาสนาแต่อย่างใด แต่กลับอาศัยวัดหารายได้เข้ากระเป๋าตนเอง แม้แต่วิชา พระพุทธศาสนาในโรงเรียนก็เป็นเพียงวิชาเลือกเสรีเท่านั้น มิใช่วิชาบังคับ ซึ่งต่างจากมุสลิมที่บังคับให้เรียนศาสนาทุกคน และนำไปปฏิบัติในชีวิตประจำวันด้วย
๖. นอกจากนี้ชาวมุสลิมยังอาศัยมาตรา ๗๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.๒๕๔๐ ออกกฎหมาย พ.ร.บ.ว่าด้วยการ ประกอบพิธีฮัจห์ ที่รัฐต้องสนับสนุนงบประมาณ โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นกรรมการโดยตำแหน่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการบริหารสำนักงาน พิธีฮัจห์ และ พ.ร.บ.ว่าด้วยธนาคารอิสลาม ซึ่งระบุว่าผู้จัดการต้องเป็นมุสลิมเท่านั้น อาจเกิดช่องว่างในการฟอกเงินจากต่างชาติก็ได้
๗. ศาสนาพุทธจะเจริญรุ่งเรืองได้ ต้องเกิดจากการปฏิบัติของพุทธบริษัทสี่ในชีวิตประจำวัน ตามพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า ตามหลักไตรสิกขา ศีล สมาธิ และปัญญา ตามแนวทางมรรคมีองค์แปด หรือการบำเพ็ญบุญกิริยาวัตถุ ๑๐ ประการ ที่สามารถย่อเหลือหลัก ๓ ประการ ได้แก่ ทาน ศีล และภาวนา นั่นคือพุทธศาสนิกชนต้องเรียนรู้คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าตามพระไตรปิฎก(ปริยัติ) และนำไปปฏิบัติในชีวิตประจำวัน (ปฏิบัติ) เพื่อบรรลุผลสูงสุดในอนาคต (ปฏิเวธ) โดยพยายามลด ละ เลิกกิเลสตัณหา และอุปาทานให้
มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ก็จะเกิดสิริมงคลแก่ตนเอง และครอบครัว ซึ่งจะส่งผลให้สังคมไทยสงบสุขอย่างแท้จริง
๘. บทบาทของทหารทางศาสนา โดยเฉพาะการปฏิบัติธรรมในกองทัพบกยังมีโครงการอบรมสมาธิที่วัดอัมพวันมาโดยต่อเนื่อง แต่ยังมีข้อควรปรับปรุงอีก เช่น การมีบทบาทนำของผู้นำระดับสูงในการปฏิบัติธรรม หรือการฟังธรรม การกล่าวคำอาราธณาศีล อาราธณาธรรม หรือการกล่าวนำในการถวายสังฆทาน หรือผ้าพระกฐินเป็นต้น ที่ผู้นำทางทหารควรกล่าวได้เอง และปฏิบัติตน เป็นแบบอย่าง ซึ่งจะก่อให้เกิดศรัทธา ต่อผู้ใต้บังคับบัญชา และสาธารณชนทั่วไปด้วย นอกจากนี้ กองทัพควรมีบทบาทในการ ให้การศึกษาอบรมพระธรรมคำสอนที่ถูกต้อง ตามแนวทางเถรวาทของไทย เพื่อที่กองทัพจะได้เป็นหลักในการจรรโลง พระพุทธศาสนาสืบแทนองค์กรอื่นที่กำลังอ่อนแอ

ข้อเสนอแนะ
ควรใช้หน่วยกิจการพลเรือน หน่วยปฏิบัติการจิตวิทยา และหน่วยประชาสัมพันธ์ต่างๆ ของกองทัพที่มีอยู่ จัดทำแผนงาน ส่งเสริมการศึกษาธรรมะ และการปฏิบัติธรรมของกำลังพล และครอบครัว เพื่อให้เข้าใจแก่นแท้ของพุทธศาสนาจน สามารถนำไปปฏิบัติ ในชีวิตประจำวันได้โดยถูกต้อง ไม่ผิดเพี้ยนจากแนวสอนของพุทธศาสนาแบบเถรวาท เฝ้าระวังภัยคุกคามทางศาสนาซึ่งอาจทำให้ สังคมไทยล่มสลาย ควบคู่ไปพร้อม ๆ กับภัยคุกคามใหม่ ๆ ด้านอื่นๆ ที่มีผลกระทบต่อกำลังพล หรือการปฏิบัติการของกองทัพ กระตุ้นให้กำลังพลมีส่วนร่วมในการป้องกันภัยคุกคามทางศาสนา และแสดงความคิดเห็น หรือประชามติต่อรัฐบาล เพื่อให้เกิด การคุ้มครอง และส่งเสริมพุทธศาสนาอย่างเป็นรูปธรรมตามมาตรา ๗๓ ของรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย
กองทัพควรเป็นตัวอย่างแก่ประชาชนทั่วไปด้วยการร่วมงานในวันสำคัญต่างๆ ของพุทธศาสนา เช่น วันวิสาขบูชา วันมาฆบูชา ฯลฯ ส่งเสริมให้กำลังพล ที่เคร่งครัดปฏิบัติธรรมได้ดำรงตำแหน่งสำคัญของกองทัพ ไม่ใช้ระบบอุปถัมภ์มากกว่าระบบคุณธรรม เน้นย้ำให้ กำลังพลของกองทัพทำบุญ หรือสนับสนุน เกื้อกูลต่อภิกษุและสามเณรที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ และร่วมมือร่วมใจกันกำจัด เดียรถีย์ออกจากพุทธศาสนา และชี้แจงให้ทราบบาปที่เกิดจากการยุยง ให้คณะสงฆ์เกิดความแตกแยกว่ารุนแรงเพียงใด จะได้หยุด การกระทำเช่นนั้นเสีย และรู้ทันการยุงยงจากบุคคลเหล่านั้น

จุดยืนและบทบาทของพุทธศาสนาในประเทศไทย
,http://www.chinnabut.com/forum/index.php?topic=117.0 3 ก.ย.2553,10.41น.
คุรุธรรม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

วัด และ โรงเรียนกับการแก้ไขปัญหาศีลธรรม?