วันพฤหัสบดีที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

วิชาอุโบสถศีล (วินัย) ธรรมศึกษาชั้นโท ปี พ.ศ.๒๕๔๖

๑. คำว่า “ อุโบสถศีล ” หมายถึงศีลอะไร ?
ก. ศีล ๕ ข. ศีล ๘
ค. ศีล ๑๐ ง. ศีล ๒๒๗
คำตอบ : ข
๒. การรักษาอุโบสถศีล จัดเข้าในพิธีใด ?
ก. บุญพิธี ข. กุศลพิธี
ค. ทานพิธี ง. ปกิณกะ
คำตอบ : ข
๓. ใครกราบทูลพระผู้มีพระภาค ให้ทรงบัญญัติอุโบสถ
ก. พระสารีบุตร ข. พระโมคคัลลานะ
ค. พระเจ้าพิมพิสาร ง. พระเจ้าอชาตศัตรู
คำตอบ : ค
๔. ข้อใด กล่าวถึงพิธีรักษาอุโบสถได้ถูกต้อง
ก. ประกาศอุโบสถแล้ว อาราธนาศีล
ข. อาราธนาศีลแล้ว ประกาศอุโบสถ
ค. อาราธนาศีลแล้ว อธิษฐานอุโบสถ
ง. อธิษฐานอุโบสถแล้ว ประกาศอุโบสถ
คำตอบ : ก
๕. อุโบสถศีล มี ๘ …… ?
ก. ข้อ ข. หมวด
ค. สิกขา ง. สิกขาบท
คำตอบ : ง
๖. ผู้สมาทานรักษาอุโบสถศีล พึงปฏิบัติตนอย่างไร ?
ก. ให้ทาน ข. ฟังเทศน์
ค. นั่งสมาธิ ง. ถูกทุกข้อ
คำตอบ : ง
๗. ข้อใด เป็นวิธีการรักษาอุโบสถนอกพุทธกาล ?
ก. รักษาศีล ๕ ข. อดอาหาร
ค. สมาทานศีล ๘ ง. รับสรณคมน์
คำตอบ : ข
๘. ข้อใด เป็นวิธีการรักษาอุโบสถสมัยพุทธกาล ?
ก. รักษาศีล ๘ ข. อดอาหาร
ค. รับสรณคมน์ ง. ถูกทุกข้อ
คำตอบ : ง
๙. อาการเช่นไร เรียกว่า การรักษาศีล ?
ก. การละเมิดข้อห้าม ข. การไม่พูดคุยกัน
ค. การเว้นจากข้อห้าม ง. ถูกทุกข้อ
คำตอบ : ค
๑๐. อุโบสถใด ที่นิยมสมาทานรักษาในวันพระข้างขึ้น ข้างแรม ?
ก. ปกติอุโบสถ ข. อริยอุโบสถ
ค. นิคัณฐอุโบสถ ง. สังฆอุโบสถ
คำตอบ : ก
๑๑. ปาฏิหาริยอุโบสถ กำหนดให้สมาทานรักษาช่วงฤดูใด ?
ก. ฤดูร้อน ข. ฤดูฝน
ค. ฤดูหนาว ง. ฤดูใบไม้ผลิ
คำตอบ : ข
๑๒. ปาฏิหาริยอุโบสถ กำหนดให้สมาทานรักษานานเท่าไร ?
ก. วันหนึ่งคืนหนึ่ง ข. คราวละ ๓ วัน
ค. ตลอด ๓ เดือน ง. ตลอด ๔ เดือน
คำตอบ : ง
๑๓. ปกติอุโบสถ กำหนดให้สมาทานรักษานานเท่าไร ?
ก. วันหนึ่งคืนหนึ่ง ข. คราวละ ๓ วัน
ค. ตลอด ๓ เดือน ง. ตลอด ๔ เดือน
คำตอบ : ก
๑๔. ข้อใด ไม่ตรงกับวันในปฏิชาครอุโบสถ
ก. วันรับ ข. วันส่ง
ค. วันรักษา ง. วันลา
คำตอบ : ง
๑๕. ในปัญจุโปสถชาดก ใครรักษาอุโบสถเพื่อข่มความโกรธ ?
ก. ฤาษี ข. งู
ค. หมี ง. สุนัขจิ้งจอก
คำตอบ : ข
๑๖. ในปัญจุโปสถชาดก ใครรักษาอุโบสถเพื่อข่มความโลภ ?
ก. ฤาษี ข. นกพิราบ
ค. หมี ง. สุนัขจิ้งจอก
คำตอบ : ง
๑๗. เมื่อถึงวันอุโบสถ ใครสมาทานรักษาศีลอุโบสถ ?
ก. ภิกษุ ข. สามเณร
ค. อุบาสก อุบาสิกา ง. คนทั่วไป
คำตอบ : ค
๑๘. ข้อใด ผู้สมาทานรักษาศีลอุโบสถไม่พึงกระทำ ?
ก. นับอายุและวัย ข. สนทนาถึงลูกถึงคน
ค. ฟังธรรม ง. เล่าเรื่องพุทธประวัติ
คำตอบ : ข
๑๙. คำประกาศอุโบสถ กำหนดให้ทำต่อจากขั้นตอนใด
ก. บูชาพระรัตนตรัย ข. รับสรณคมน์
ข. อาราธนาศีล ง. สมาทานศีล
คำตอบ : ก
๒๐. คำว่า พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ เป็นคำอะไร
ก. คำบูชาพระรัตนตรัย
ข. คำประกาศอุโบสถ
ค. คำรับสรณคมน์
ง. คำอาราธนาศีล
คำตอบ : ค
๒๑. ข้อใด ไม่มีความจำเป็นในการรักษาอุโบสถศีล ?
ก. รับสรณคมน์
ข. สมาทานศีล ๘
ค. สมาทานรักษาเองก็ได้
ง. ต้องสมาทานรักษาที่วัด
คำตอบ : ง
๒๒. การแสดงธรรมกัณฑ์อุโบสถ ตรงกับการเทศน์ในข้อใด ?
ก. เทศน์มหาชาติ ข. เทศน์ตามกาลนิยม
ค. เทศน์งานมงคล ง. เทศน์งานอวมงคล
คำตอบ : ข
๒๓. ข้อใด ไม่ใช่องค์ประกอบทำให้ศีลข้อปาณาติบาตขาด ?
ก. สัตว์มีชีวิต ข. รู้ว่าสัตว์มีชีวิต
ค. จิตคิดจะฆ่า ง. สัตว์ตายด้วยความคิดนั้น
คำตอบ : ง
๒๔. ข้อใด ไม่ใช่องค์ประกอบทำให้ศีลข้ออทินนาทานขาด ?
ก. ทรัพย์มีเจ้าของ
ข. รู้ว่าทรัพย์มีเจ้าของ
ค. จิตคิดจะลักทรัพย์นั้น
ง. ลักมาได้เพราะคนอื่นช่วย
คำตอบ : ง
๒๕. คำว่า อพรหมจรรย์ หมายถึงข้อใด ?
ก. การเสพอสัทธรรม ข. การเสพยาบ้า
ค. การเสพบัณฑิต ง. การเสพคนพาล
คำตอบ : ก
๒๖. ข้อใด ไม่ใช่องค์ประกอบทำให้ศีลข้อมุสาวาทขาด ?
ก. เรื่องไม่จริง ข. รู้ว่าเรื่องไม่จริง
ค. จิตคิดจะพูดให้ผิด ง. คนอื่นเข้าใจ
คำตอบ : ข
๒๗. ข้อใด ผู้สมาทานรักษาอุโบสถศีลบริโภคในเวลาวิกาลไม่ได้ ?
ก. น้ำซุป ข. เนยข้น
ค. น้ำผึ้ง ง. น้ำอ้อย
คำตอบ : ก
๒๘. ข้อใด ไม่ผิดอุโบสถศีลข้อที่ ๗ ?
ก. ทาน้ำหอมดับกลิ่นตัว ข. ทาน้ำมันให้ผมอยู่ทรง
ค. ทาแป้งรักษาโรคคัน ง. ทาแป้งดับความร้อน
คำตอบ : ค
๒๙. ในปัญจุโปสถชาดก ฤาษีเห็นว่า อะไรเป็นคุณใหญ่ ในโลกนี้ ?
ก. ชาติตระกูล ข. ศีล
ค. เมตตา ง. ขันติ
คำตอบ : ข
๓๐. อัชฌาจารณียวัตถุ (วัตถุที่จะพึงประพฤติล่วง) เป็นองค์ของอุโบสถศีลข้อใด ?
ก. ปาณาติบาต ข. อทินนาทาน
ค. อพรหมจรรย์ ง. มุสาวาท
คำตอบ : ค
๓๑. ข้อใด ไม่ใช่อุโบสถศีล ?
ก. ไม่ใช้เครื่องหอม ข. ไม่ดูการละเล่น
ค. ไม่จับเงินทอง ง. ไม่ใช้เครื่องลาดวิจิตร
คำตอบ : ค
๓๒. อุโบสถของนักบวชนอกพระพุทธศาสนา ตรงกับข้อใด ?
ก. ปฏิชาครอุโบสถ ข. นิคัณฐอุโบสถ
ค. โคปาลกอุโบสถ ง. ปาฏิหาริยอุโบสถ
คำตอบ : ข
๓๓. อุโบสถใด ให้ผู้สมาทานรักษาได้รับผลมากที่สุด ?
ก. โคปาลกอุโบสถ ข. นิคัณฐอุโบสถ
ค. อริยอุโบสถ ง. ไม่มีข้อถูก
คำตอบ : ค
๓๔. ผู้สมาทานรักษาอุโบสถศีลเช่นไร ได้ผลน้อยที่สุด ?
ก. ต้องการชื่อเสียง ข. ต้องการผลบุญ
ค. ต้องการความสงบ ง. ถูกทุกข้อ
คำตอบ : ก
๓๕. พระผู้มีพระภาค ตรัสไว้ในอุโบสถสูตรว่า สิ่งที่จะชำระจิตใจที่เศร้าหมองด้วยอำนาจ
กิเลสให้บริสุทธิ์ได้นั้น คืออะไร ?
ก. ถวายสังฆทาน ข. รดน้ำมนต์
ค. ไหว้พระ ๙ วัด ง. นึกถึงศีล
คำตอบ : ง
๓๖. ข้อใด ไม่ใช่การรักษาอุโบสถศีลตามพระอรหันต์ ?
ก. ละปาณาติบาต ข. ละอทินนาทาน
ค. ละอพรหมจรรย์ ง. ละทุกข์
คำตอบ : ง
๓๗. พระอรหันต์ได้ชื่อว่ามีถ้อยคำมั่นคง ไม่ลวงโลก เพราะศีลข้อใด ?
ก. เว้นอาหารในเวลาวิกาล
ข. ประพฤติพรหมจรรย์
ค. เว้นจากการพูดเท็จ
ง. เว้นจากการดื่มน้ำเมา
คำตอบ : ค
๓๘. ผู้สมาทานรักษาอุโบสถศีล มีอาการเหมือนคนรับจ้างเลี้ยงโค ตรงกับข้อใด ?
ก. พูดเรื่องกิน ข. พูดเรื่องลูกหลาน
ค. มีแต่ความอยากได้ ง. ถูกทุกข้อ
คำตอบ : ง
๓๙. ผู้สมาทานปฏิชาครอุโบสถ ต้องรักษาศีลอะไร ?
ก. ศีล ๕ ข. ศีล ๘
ค. ศีล ๑๐ ง. ศีล ๓๑๑
คำตอบ : ข
๔๐. คำว่า “ สรณคมน์ ” คืออะไร ?
ก. รัตนะ ๓ ข. โอวาท ๓
ค. อริยสัจ ๔ ง. ศีล ๘
คำตอบ : ก
๔๑. คำว่า “ สีเลน สุคตึ ยนฺติ ” เป็นคำอะไร ?
ก. คำอาราธนาศีล ข. คำลาศีล
ค. คำสมาทานศีล ง. คำบอกอานิสงส์ศีล
คำตอบ : ง
๔๒. เมื่อพระสงฆ์ว่า “ ติสรณคมนํ นิฏฺฐิตํ ” ผู้สมาทานอุโบสถศีลพึงรับพร้อมกัน
ว่าอย่างไร ?
ก. อาม ภนฺเต ข. สาธุ ภนฺเต
ค. มยํ ภนฺเต ง. อิมานิ มยํ ภนฺเต
คำตอบ : ก
๔๓. ผู้สมาทานรักษาอุโบสถศีล พึงรับประทานอาหารให้เสร็จเวลาใด ?
ก. ก่อนเพล ข. ก่อนเที่ยง
ค. เที่ยงครึ่ง ง. ก่อนบ่ายโมง
คำตอบ : ข
๔๔. คำพูดเช่นใด ห้ามผู้สมาทานรักษาอุโบสถศีลพูด ?
ก. คำหยาบ ข. คำเพ้อเจ้อ
ค. คำส่อเสียด ง. ถูกทุกข้อ
คำตอบ : ง
๔๕. เพราะเหตุใด ผู้สมาทานรักษาอุโบสถศีล จึงต้องงดดื่มสุรา ?
ก. เพราะเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท
ข. เพราะเป็นข้าศึกแห่งพรหมจรรย์
ค. เพราะเป็นที่ตั้งแห่งความกังวล
ง. เพราะเป็นเหตุให้คนอื่นไม่เชื่อถือ
คำตอบ : ก
๔๖. เพราะเหตุใด ผู้รักษาอุโบสถศีล จึงต้องงดการประดับร่างกาย ?
ก. เพราะเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท
ข. เพราะเป็นที่ตั้งแห่งความกังวล
ค. เพราะเป็นข้าศึกแก่กุศล
ง. เพราะเป็นข้าศึกแก่อกุศล
คำตอบ : ค
๔๗. คำว่า “ วางทอนไม้ ” ในอุโบสถสูตร มีความหมายว่าอย่างไร ?
ก. งดฆ่าสัตว์ ข. งดลักทรัพย์
ค. งดจี้ปล้น ง. งดคบคนพาล
คำตอบ : ก
๔๘. ผู้รักษาอุโบสถศีลไม่รู้ว่าน้ำมีตัวสัตว์ ดื่มเข้าไป ศีลขาดหรือไม่ ?
ก. ขาด เพราะสัตว์มีชีวิต
ข. ขาด เพราะสัตว์ตาย
ค. ไม่ขาด เพราะไม่รู้ว่ามีตัวสัตว์
ง. ไม่ขาด เพราะต้องรักษาชีวิต
คำตอบ : ค
๔๙. เมื่อรักษาอุโบสถศีลครบวันหนึ่งคืนหนึ่งแล้ว พึงปฏิบัติอย่างไร ?
ก. กล่าวคำลาพระรัตนตรัย
ข. กล่าวคำลาศีล
ค. กล่าวคำลาสิกขา
ง. การสมาทานสิ้นสุดเอง
คำตอบ : ง
๕๐. การรักษาอุโบสถศีล มีประโยชน์อย่างไร
ก. ละความชั่วได้ ข. เป็นที่ตั้งแห่งสมาธิ
ค. เป็นที่ตั้งแห่งปัญญา ง. ถูกทุกข้อ
คำตอบ : ง
ผู้ออกข้อสอบ
: ๑. พระศรีรัตนโมลี วัดพระปฐมเจดีย์
๒. พระปิฎกโกศล วัดพระพิเรนทร์
๓. พระมหาสมเจตต์ อธิจิตฺโต ป.ธ.๙
วัดสุทัศนเทพวราราม
ตรวจ/ปรับปรุง : สนามหลวงแผนกธรรม

คุรุธรรม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

วัด และ โรงเรียนกับการแก้ไขปัญหาศีลธรรม?